ReadyPlanet.com
ข่าวสาร
หนังสือรับรองสำนักงานบัญชีคุณภาพ
dot

dot
dot
dot


การทำบัญชีและเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้ถูกต้อง

การทำบัญชีและเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้ถูกต้อง

   เมื่อจะเริ่มเปิดดำเนินการประกอบธุรกิจ ในรูปแบบบุคคลธรรมดานั้น สิ่งสำคัญที่สุด คือจะต้องมีการวางแผนในการเสียภาษี และในขณะเดียวกันจะต้องมีการวางระบบบัญชี และระบบเอกสารอย่างไร ที่จะทำให้การการเสียภาษีเป็นไปอย่างเป็นระบบ ที่จะทำให้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้อย่างถูกต้องชอบด้วยกฎหมาย และประหยัด ลดการถูกประเมินเพื่อเสียภาษีย้อนหลัง และในขณะเดียวกันก็จะได้ข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจในปีต่อๆไป ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล

 

   ดังนั้นการทำบัญชีจึงถือว่าเป็นหัวใจที่สำคัญเรื่องหนึ่งของการดำเนินธุรกิจ ถึงแม้จะเริ่มต้นในรูปแบบบุคคลธรรมดา ซึ่งก็จะเป็นฐานในการขยายกิจการไปสู่การทำธุรกิจในรูปนิติบุคคล ( บริษัท / ห้างหุ้นส่วนจำกัด)

 

   จากประสบการณ์ที่ผ่านมาทั้งด้านการรับทำบัญชี การวางระบบบัญชี และการเป็นที่ปรึกษาการทำบัญชี การวางแผนภาษี และการบริหารการเงินกว่า 30 ปี จึงทำให้เราสามารถกำหนดขั้นตอนการทำบัญชีของกิจการบุคคลธรรมดา ไม่ว่ากิจการที่เปิดใหม่ หรือเปิดมานานแล้ว ในการจะเริ่มทำบัญชีและเสียภาษีในรูปบุคคลธรรมดา สามารถสรุปประเด็นในส่วนที่เป็นสาระสำคัญในการดำเนินงานได้ดังนี้

1. ตรวจเช็ควัตถุประสงค์การดำเนินธุรกิจ

ถ้าจะเริ่มทำบัญชีเพื่อจะเสียภาษี เจ้าของกิจการจะต้องกำหนดวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจว่าจะประกอบธุรกิจประเภทใด เช่น ธุรกิจซื้อมา-ขายไป หรือธุรกิจการให้บริการ เพื่อให้สอดคล้องกับการเสียภาษี ซึ่งสามารถดูได้จากประเภทรายได้ของบุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร ซึ่งจะมี 8 ประเภทด้วยกัน และต้องทำความเข้าใจว่าธุรกิจที่ทำนั้นรายได้จัดอยู่ในมาตรา 40 (1) ถึงมาตรา 40 ( 8) ซึ่งในส่วนนี้จะต้องชัดเจน

2. จัดระบบเอกสารรายได้และค่าใช้จ่ายต่างๆให้ชัดเจน เสมือนกับธุรกิจ ที่จัดในรูปนิติบุคคล ( บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนจำกัด ) ในส่วนเอกสารจะต้องพิสูจน์ได้ว่าใครเป็นผู้รับเงิน รวมถึงเส้นทางการเงิน เป็นต้น เรื่องนี้สำคัญมากๆ

3. การทำบัญชี เจ้าของกิจการจะต้องทำบัญชี รับ-จ่าย ให้ถูกต้อง สอดคล้องกับเอกสารและเส้นทางทางการเงินตามข้อ 2

4.  การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและการนำส่งภาษี

   การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และการนำส่งภาษี.  มี 2วิธีคือ

4.1.  วิธีแรก ประกอบด้วย เงินได้ - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน X อัตราภาษี

4.2. วิธีที่สอง = เงินได้ที่ไม่ใช้เงินเดือน X 0.50 % = ภาษีที่ต้องจ่าย วิธีนี้จะใช้เมื่อมีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปี

4.3. เมื่อคำนวณภาษี ตาม 4.1 และ 4.2 ให้นำส่งภาษีที่คำนวณได้สูงกว่า นำไปเสียภาษีภายในระยะเวลาที่กำหนด

4.4. การหักค่าใช้จ่ายตาม 4.1. ถ้ารายได้จากการทำงานประจำหรือการจ้างแรงงาน หักค่าใช้จ่ายเหมาได้ 50 % แต่ไม่เกิน 100,000 บาท

4.5. การหักค่าใช้จ่ายตาม 4.1. ถ้ารายได้จากการขายสินค้าหรือให้บริการ ที่เป็นรายได้ประเภทที่ 8 มีวิธีคำนวณภาษี 2 วิธี คือ

4.5.1.     หักค่าใช้จ่ายเหมาได้ 60 %

4.5.2.    หักค่าใช้จ่ายตามจริง ที่ทำบัญชีได้ตาม ข้อ 3 ซึ่งจะต้องมีการทำบัญชีรายรัย รายจ่าย และเก็บเอกสารที่เกี่ยวข้องกับกิจการโดยตรงอย่างรอบคอบ 

4.6.  การเสียภาษี หรือการนำส่งภาษี จะเสียภาษีปีละ 2 ครั้ง คือจะดำเนินการดังนี้

4.6.1.     เสียหรือนำส่งภาษีครึ่งปี (ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94)

4.6.2.    เสียหรือนำส่งภาษีทั้งปี ( ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90) 

 

 5. การเก็บเอกสาร  จะต้องจัดเก็บเอกสารไม่น้อยกว่า 5 ปี นับแต่วันปิดบัญชี  ประกอบด้วย เอกสารรายได้ เอกสารค่าใช้จ่าย แบบนำส่งภาษี ( ภ.ง.ด. 94 พร้อมใบเสร็จเสียภาษี และ ภ.ง.ด.90 ใบเสร็จรับเงินเสียภาษี

  




บทความวิชาการบัญชี

ใบกำกับภาษีคืออะไร มีรูปแบบไหนบ้าง? ทำความรู้จักกับใบกำกับภาษีในแต่ละประเภท
วิธีทำบัญชีขายของออนไลน์อย่างถูกต้อง ป้องกันการเรียกตรวจสอบภาษีจากกรมสรรพากร
การวางแผนทำบัญชีเพื่อเสียภาษีคริปโตเคอร์เรนซี่หรือโทเคนดิจิทัล ปี 2567
ตรวจสอบบัญชีประจำปีแล้วดีอย่างไร ?
การซื้อทรัพย์สินและรายจ่ายเกี่ยวกับการซื้อหรือขายทรัพย์สินในส่วนที่เกินปกติโดยไม่มีเหตุอันสมควร
เงินที่บริษัทส่งไปสมทบให้บริษัทในต่างประเทศซึ่งร่วมลงทุนถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้หรือไม่
ผลขาดทุน จากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้หรือไม่
บริษัทตัวแทนในต่างประเทศได้ทดลอง จ่ายค่าจ้าง และภาษีไปก่อน ค่าใช้จ่ายดังกล่าวถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้หรือไม่
รายจ่ายก่อนตั้งบริษัท ถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่
ภาษีเงินได้ที่ออกให้พนักงานในต่างประเทศ ถือเป้นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้หรือไม่
ภาษีซื้อที่เกิดจากการเช่าสำนักงาน ถือเป็นภาษีซื้อของบริษัทได้หรือไม่
การทำบัญชีในยุค AI: บทความแนะนำสำหรับเจ้าของธุรกิจออนไลน์
การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้
เงินอุดหนุนที่องค์กรต่างๆให้มาเพื่อช่วยเหลืองานของสมาคม ได้รับยกเว้นภาษีหรือไม่
เงินกองทุนสะสมของพนักงาน ถือเป็นรายจ่าย ในการคำนวณกำไรสุทธิได้หรือไม่
บริษัทให้รางวัลสมนาคุณแก่ลูกค้าที่ขายสินค้าของบริษัทได้สูง ถือเป็นรายจ่ายกำไรสุทธิ ได้หรือไม่
บริษัทเป็นผู้ส่งข้าวไปจำหน่ายต่างประเทศ มีความผูกพันต้องส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ถือเป็นรายจ่ายกำไรสุทธิได้หรือไม่
ค่าใช้จ่ายให้ตัวแทนย่อย ไปดูงานการผลิตและจำหน่ายในต่างประเทศถือเป็นรายจ่ายกำไรสุทธิได้หรือไม่
บริษัทจัดจับฉลากชิงโชคเป็นของรางวัล ถือเป็นรายจ่ายกำไรสุทธิได้หรือไม่
บริษัทจะนำรายจ่ายค่าไฟฟ้าเป็นชื่อของผู้รับเหมา มาเป็นรายจ่ายได้หรือไม่
ค่าภาษีหัก ณ ที่จ่าย ที่บริษัทจ่ายแทนลูกจ้างของบริษัท ถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่
ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น เมื่อบริษัทนำทรัพย์สินของบุคคลอื่นมาใช้ในกิจการ ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณสิทธิ ได้หรือไม่
วางแผนภาษีแพทย์และโรงพยาบาลเอกชน
การทำบัญชีนิติบุคคลอาคารชุดให้ถูกต้องอย่างมืออาชีพ
การทำบัญชีนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรให้ถูกต้องอย่างมืออาชีพ
การทำบัญชีธุรกิจนำเข้า-ส่งออกให้ถูกต้อง
การทำบัญชีธุรกิจบริการให้ถูกต้องอย่างมืออาชีพ
การทำบัญชีธุรกิจขายสินค้าออนไลน์ให้ถูกต้องอย่างมืออาชีพ
การทำบัญชีสมาคมให้ถูกต้องอย่างมืออาชีพ
การทำบัญชีโรงเรียนเอกชนสำหรับผู้ประกอบการอย่างมืออาชีพ
การทำบัญชีมูลนิธิให้ถูกต้องอย่างมืออาชีพ
รถยนต์ที่เช่าซื้อมาแม้ยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ จะหักค่าสึกหรอหรือค่าเสื่อมราคาได้หรือไม่
ดินที่ซื้อมาถมในที่บริษัทเช่าถือเป็นรายจ่ายในปีที่จ่ายได้หรือไม่
รายจ่ายค่าซ่อมถนนให้คงสภาพเดิมถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่
สรุป ภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับผู้ประกอบการ SMEs
เงินกินเปล่าที่ผู้เช่าจ่ายให้ผู้ให้เช่า ถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่
การทำบัญชีสำหรับผู้ประกอบการอย่างมืออาชีพ
รถยนต์ที่เช่าซื้อมาแม้ยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ จะหักค่าสึกหรอหรือค่าเสื่อมราคาได้หรือไม่
ดอกเบี้ยซื้อและติดตั้งเครื่องจักรเป็นการลงทุนหรือค่าใช้จ่ายหารายได้
ดอกเบี้ยเงินเบิกเกินบัญชีที่บริษัทนำมาให้ชาวประมงกู้ยืมโดยไม่คิดดอกเบี้ย
ทรัพย์สินที่สร้างขึ้นใหม่แทนทรัพย์สินเดิมถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่
รายจ่ายตอบแทนคุณความดีพนักงาน “ สตาฟ รีไทเมนต์ เบเนฟิต “ถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่
ค่าติดตั้งเครื่องจักร ถือเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนหรือไม่
ค่าใช้จ่ายอะไรบ้างที่ไม่ใช่ค่าใช้จ่ายส่งเสริมการขายต้องห้ามตามมาตรา 65ตรี(3)แห่งประมวลรัษฎากร
ความหมาย “ รายจ่ายอันมีลักษณะการลงทุน "
กรณีการก่อสร้างอาคารแล้วยกกรรมสิทธิ์ให้เจ้าของที่ดิน
บริษัทจัดตั้งกองทุนสะสม และจ่ายเงิน เข้าบัญชีพนักงาน และพนักงานเบิกใช้ ถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่บริษัทจัดตั้ง บริษัทจ่ายสมทบให้ บริษัทจะเบิกจ่ายมาใช้ส่วนตัวได้หรือไม่
ค่านายหน้าค้างจ่าย ที่ค้างมานานหลายรอบระยะเวลาบัญชีจะมีปัญหาหรือไม่
ความสำคัญการตรวจสอบบัญชีสำหรับธุรกิจ SME
เมื่อผู้ขายไม่ออกใบเสร็จรับเงินในการซื้อสินค้า จะใช้อะไรเป็นหลักฐานในการลงบัญชีรายจ่าย
ใบเสร็จรับเงินมีรายการไม่ครบถ้วนใช้เป็นค่าใช้จ่ายตามประมวลรัษฎากรได้หรือไม่
บริษัทจ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้พนักงาน ถือเป็นรายจ่ายคำนวณกำไรสุทธิได้หรือไม่
ใบเสร็จรับเงินมีรายการไม่ครบถ้วนใช้เป็นค่าใช้จ่ายตามประมวลรัษฎากรได้หรือไม่
ใบส่งของที่ไม่มีลายมือชื่อผู้รับเงินจะนำมาหักเป็นรายจ่ายไม่ได้
ดอกเบี้ยจ่ายให้ผู้ว่าจ้าง ถือเป็นรายจ่ายเพื่อประกอบกิจการได้
ดอกเบี้ยจ่ายที่เกิดจากการซื้อสินค้าถือเป็นค่าใช้จ่ายตามประมวลรัษฎากรได้หรือไม่
ค่ารับรองพิเศษถือเป็นค่าใช้จ่ายตามประมวลรัษฎากรได้หรือไม่
การนำผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 รอบระยะเวลาบัญชี
การจ่ายส่วนลดจ่ายในการส่งเสริมการขาย
การจ่ายเงินรางวัลพนักงาน
เมื่อกิจการมีค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานนอกสถานที่ จะมีแนวปฏิบัติอย่างไรให้สรรพากรยอมรับ
เมื่อผู้รับจ้างมีรายรายได้และรายได้ถึงเกณฑ์นำส่งภาษีประจำปีแต่ไม่ยื่นแบบนำส่งภาษีจะเกิดอะไรขึ้น
จ้างพนักงานบัญชีประจำบริษัทหรือจ้างสำนักงานบัญชี แบบไหนดีกว่ากัน?
ทำบัญชีและเสียภาษีอย่างไรให้ถูกต้องเมื่อคิดจะเปิดร้านขายของออนไลน์
กรณีนิติบุคคลจ่ายเงินค่าจ้างให้ผู้รับจ้าง จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายอย่างไร
ขั้นตอนที่จะทำให้พ่อค้าแม่ขายออนไลน์ทำบัญชีได้อย่างถูกต้องหายห่วง
5 เคล็ดลับการทำบัญชีวัด ให้ถูกต้อง โปร่งใส และตรวจสอบได้
3 ประเด็นที่ทำให้ธุรกิจ SMEs วางแผนการเงินพลาด
เทคนิควิเคราะห์งบการเงิน 4 ด้านสำหรับธุรกิจSME
การสอบทานการทำบัญชีนั้นสำคัญ! การทำบัญชีให้ถูกต้องและมีคุณภาพสำหรับกิจการ SMEs
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย กรณีผู้จ่ายเงินออกภาษีแทนให้ให้ผู้รับเงิน
การวางแผนภาษีแพทย์ (คุณหมอ)
ดอกเบี้ยหรือเงินปันผลจากต่างประเทศจะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือไม่
กิจการที่จ่ายค่าใช้จ่ายการต่อเติมอาคารแทนการจ่าค่าเช่าจะปฎิบัติอย่างไรให้สรรพากรยอมรับ
หลักเกณฑ์การตัดสินค้าชำรุดเสียหายต้องทำอย่างไรเพื่อให้สรรพากรยอมรับ
สินค้าคงเหลือขาดหายจากบัญชีคุมสินค้าจะปฏิบัติอย่างไรให้สรรพากรยอมรับ
เงินกองทุนสะสมของพนักงานที่โอนมาจากบริษัทเดิมไม่เป็นเงินได้จากการประกอบกิจการ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม Value Added Tax หรือ VAT คืออะไร ใครมีหน้าที่เสียใครได้รับยกเว้น
ผลกระทบของการไม่ยื่นแบบเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี สำหรับผู้รับจ้างทำงานให้และการจ่ายเงินค่าบริการ
ทำบัญชีอย่างไรให้ถูกต้องตามประมวลรัษฎากร
การทำบัญชียุค กรมสรรพากรขับเคลื่อนกลยุทธ์ D2RIVE Digital Transformation Data Analytics Revenue Collection Value และ Efficiency
การทำบัญชีเมื่อกรมสรรพากร เชื่อมโยงข้อมูลกับสำนักงานประกันสังคม
บริการรับทำ และดูแลการทำบัญชีในยุคดิจิตอล
การทำบัญชีธุรกิจซื้อ-ขายสินค้า/บริการออนไลน์ให้ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ระบบดิจิทัล
การวางแผนการเงินและบัญชี สำหรับธุรกิจ SMEs สู้วิกฤติ COVID-19
เทคนิค การวางแผนภาษี และการทำบัญชี สำหรับธุรกิจ เทคโนโลยีดิจิทัล
เทคนิคการทำบัญชีให้ถูกกต้อง สู่เศรษฐกิจดิจิตอล
การทำบัญชี ยุค Work from Home
บริการรับทำ และดูแลการทำบัญชีในยุคดิจิตอล
การจัดจัดทำบัญชีสมาคม/มูลนิธิ
การทำบัญชีโรงเรียนเอกชนให้ถูกต้อง
การวางระบบบัญชีโรงเรียนเอกชน
การทำบัญชีนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร/อาคารชุด
การจ่ายโบนัสหรือค่าตอบแทน
การจ่ายเงินรางวัลให้แก่พนักงาน
Big Data และ Data Analytic ของกรมสรรพากร
ทำไม ธุรกิจ SMEs ถึงต้องทำบัญชีเล่มเดียว ให้ถูกต้อง