ReadyPlanet.com
ข่าวสาร
หนังสือรับรองสำนักงานบัญชีคุณภาพ
dot

dot
dot
dot


การทำบัญชีสำหรับผู้ประกอบการอย่างมืออาชีพ

 

 

 

 

การทำบัญชีสำหรับผู้ประกอบการอย่างมืออาชีพ

   เมื่อเจ้าของกิจการจะเริ่มเปิดดำเนินการประกอบธุรกิจนั้น สิ่งสำคัญที่สุด คือกิจการจะมีระบบบัญชี และระบบเอกสารอย่างไร ที่จะทำให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างมีระบบ  ซึ่งสุดท้ายเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีกิจการจะต้องได้ข้อมูลที่ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นส่วนของการนำส่งภาษี หรือ ข้อมูลที่ได้สามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจได้ถูกต้อง และทันเวลา

   ดังนั้นการทำบัญชีจึงถือว่าเป็นหัวใจที่สำคัญเรื่องหนึ่งของการดำเนินธุรกิจ ซึ่งจากประสบการณ์ที่ผ่านมาทั้งด้านการรับทำบัญชี การวางระบบบัญชี และการเป็นที่ปรึกษาการทำบัญชี การวางแผนภาษี และการบริหารการเงินกว่า 30 ปี จึงกำหนดขั้นตอนการทำบัญชีของกิจการ ไม่ว่ากิจการที่เปิดใหม่ หรือเปิดมานานแล้ว หากอ่านบทความนี้แล้วสนใจ มีความต้องการจะสอบทานหรือปรับระบบงานให้รองรับการบริหารงานสามารถขอหารือได้  รายละเอียดกิจการที่จะทำบัญชีอย่างมืออาชีพสามารถดำเนินงานได้ดังนี้

   1. ตรวจเช็ควัตถุประสงค์การดำเนินธุรกิจ ถ้าจะเริ่มทำบัญชี ผู้ทำจะต้องสอบทานการดำเนินธุรกิจว่าปัจจุบันธุรกิจ มีวัตถุประสงค์หลักอะไรบ้าง ซึ่งสามารถดูได้จากหนังสือรับรองของบริษัทล่าสุดที่ได้จดทะเบียนไว้กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

   2. จัดระบบทางเดินเอกสารต่างๆ ให้สอดคล้องกับการทำงานและการบันทึกบัญชี เช่น ระบบเงินฝากธนาคาร การนำฝาก และเบิกจ่าย, ระบบลูกหนี้การค้าและการรับชำระหนี้ ระบบซื้อ เจ้าหนี้การค้า และการจ่ายชำระหนี้ และระบบบัญชีคุมสินค้า เป็นต้น (สามารถจ้างผู้มีประสบการณ์ช่วยจัดระบบและสอบทานและปรับให้สอดคล้องกับการทำงานได้ )

   3. จากข้อ 2 การเขียนรายละเอียดในเอกสารใบสำคัญรับ และใบสำคัญจ่ายเช่น การรับชำระหนี้ ควรระบุในรายละเอียดให้ชัดเจนว่ารับชำระหนี้จากใครเป็นค่าอะไร งวดที่เท่าไร เลขที่เช็คและรายละเอียดธนาคาร ส่วนการจ่ายเงินก็เช่นกัน ในใบสำคัญจ่ายจะต้องระบุว่าจ่ายให้ใคร ค่าอะไร จ่ายด้วยเช็คธนาคารหรือถอนเงิน ธนาคารอะไร ทั้งนี้เพื่อสะดวกต่อการค้นหาข้อมูลย้อนหลัง ซึ่งสามารถเรียกดูและเข้าใจจากบัญชีแยกประเภทสามารถหารือผู้มีประสบการณ์ได้

   4. การ set up ระบบบัญชี ในที่นี้ ขอแนะนำให้ใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ด้วยเหตุผลเป็นการรองรับระบบการทำงานในอนาคต เพราะปัจจุบันการทำงานจะเน้นที่ระบบออนไลน์ หากมาเปลี่ยนภายหลังจะทำให้เสียค่าใช้จ่ายมาก รวมถึงต้องมาปรับระบบทำงาน การทำงานย้อนหลัง การตรวจทานความถูกต้องของการทำงาน ซึ่งจะมีปัญหามาก ในส่วนนี้ถือว่าสำคัญ หากทำไม่ดี จะให้ระบบงานไม่ถูกต้อง งานข้อมูลล่าช้า จะเป็นผลเสียอย่างมหาศาล( สามารถจ้างผู้มีประสบการณ์ช่วยจัดระบบและสอบทานและปรับให้สอดคล้องกับการทำงานได้ )

   5. จากข้อ 4 เมื่อ set up โปรแกรมเสร็จแล้ว ก็จะต้องทดสอบความถูกต้องของการทำงาน ในที่นี้เห็นควรให้จ้างบริษัท เจ้าของโปรแกรมบัญชีดีที่สุด เพื่อเพิ่มความมั่นใจในระบบงานที่ set up

   6. การนำข้อมูลพื้นฐานการทำงาน เพื่อเตรียมพร้อมก่อนการทำบัญชี เช่น ผังบัญชี รายละเอียดลูกหนี้การค้า (ลูกหนี้ที่กิจการได้ตกลงจะค้าขายด้วยกัน)รายละเอียดเจ้าหนี้การค้า (ลูกหนี้ที่กิจการได้ตกลงจะค้าขายด้วยกัน) รายละเอียดสินค้าคงเหลือ ( คลังสินค้า)สามารถหารือผู้มีประสบการณ์ได้

   7. เมื่อเริ่มดำเนินการจะต้องมีการประเมินการทำงานจากข้อมูลจริงว่าข้อมูลถูกต้องหรือไม่ รวมถึงบางครั้งอาจมีการปรับขั้นตอนการทำงาน งานส่วนนี้สำคัญมากจะต้องมีการติดตาม และประเมินผล ปรับแก้ที่สำคัญ งานจะต้องทันการใช้งานข้อมูล ในส่วนนี้ถือว่าสำคัญมากๆ(สามารถจ้างผู้มีประสบการณ์ช่วยจัดระบบและสอบทานและปรับให้สอดคล้องกับการทำงานได้ )

   8. การจัดการเรื่องภาษีต่างๆ เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ , ภาษีหัก ณ ที่จ่าย , ภาษี ภ.ง.ด.3 และ ภ.ง.ด.53 ,การจัดทำ ภ.ง.ด.51 ( ภาษีเงินได้นิติบุคคลกลางปี การจัดทำ ภ.ง.ด.50 ( ภาษีเงินได้นิติบุคคลปลายปี) ในส่วนนี้กิจการจะต้องเรียนรู้เพื่อปฏิบัติให้ถูกต้อง

   9. การจัดทำเงินเดือน และประกันสังคม กิจการจะต้องเรียนรู้และดำเนินการให้ถูกต้อง

   10. การปิดบัญชี ประจำเดือน และการปิดบัญชีประจำปี เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญ กิจการควรมีระบบการติดตามอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้เพื่อให้มั่นใจว่ากิจการมีระบบการทำงานที่ดี ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วนในการนำไปใช้บริหารงานสามารถหารือผู้มีประสบการณ์ได

   11. กิจการควรมีการนำข้อมูลที่ปิดประจำเดือนมาใช้ในการบริหารและประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง และนำข้อมูลไปปรับแผนการทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ รวมถึงการปิดบัญชีประจำปี และนำข้อมูลไปใช้ในการบริหารงาน

   12. จากข้อมูลที่ได้จากการปิดบัญชีประจำปี กิจการจะต้องจัดทำข้อมูลดังกล่าวมาจัดทำเป็นข้อมูลเชิงบริหาร เช่นข้อมูล วิเคราะห์งบการเงิน 4 ด้าน ได้แก่การวิเคราะห์ด้านสภาพคล่อง , ด้านประสิทธิภาพในการดำเนินงาน, ด้านความสามารถในการชำระหนี้สิน, ด้านความสามารถในการทำกำไร เป็นต้น (สามารถจ้างผู้มีประสบการณ์ช่วยจัดระบบการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ )งานส่วนนี้สำคัญมากๆสามารถนำข้อมูลไปเสนอขอเครดิตจากธนาคารและเจ้าหนี้การค้าได้

   13. ผู้ประกอบการจะต้องเรียนรู้การอ่านงบการเงินให้เป็น รวมถึงการวิเคราะห์งบการเงิน โดยเฉพาะ วิเคราะห์งบการเงิน 4 ด้าน( สามารถจ้างผู้มีประสบการณ์อบรมให้ความรู้ และทดสอบการปฏิบัติงานจากตัวอย่างได้ )

   จากที่กล่าวมานั้น ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะกิจการที่เปิดใหม่ และกิจการที่เปิดมานานแล้วก็จำเป็นจะต้องคำนึงถึงงานทำบัญชี การจัดวางระบบการทำบัญชี ระบบภาษีอากร ระบบการจัดทำรายงาน การนำข้อมูลที่ได้จากการทำบัญชีไปใช้งานในรูปการวิเคราะห์งบการเงิน รวมถึงการนำข้อมูลไปใช้งานบริหารได้อย่างมีประสิทธิภาพและอย่างมืออาชีพ

 

บริษัท บัญชีสยามออนไลน์จำกัด ให้บริการ

  • รับวางระบบงานเอกสารทำบัญชี
  • Set up โปรแกรมบัญชีออนไลน์ให้พร้อมใช้งานทั้งระบบ  (eBunchee)
  • ให้บริการวิเคราะห์งบการเงิน และให้คำปรึกษาด้านการเงินแก่ธุรกิจ เพื่อใช้ในการตัดสินใจ
  • ให้บริการดูแลการทำบัญชี และปิดบัญชีประจำปีทั้งระบบ เพื่อให้งานทำบัญชีเสร็จทันตามกำหนดเวลาการใช้ข้อมูลบริหาร
  • ให้คำปรึกษาด้านภาษีอากร สำหรับธุรกิจแต่ละประเภท

 

สนใจ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอคำปรึกษาได้ที่

อ.ปัญญา ศุกลินวนิช โทร 065-449-1925

หรือ p.sukalinwanit@gmail.com


 




บทความวิชาการบัญชี

ใบกำกับภาษีคืออะไร มีรูปแบบไหนบ้าง? ทำความรู้จักกับใบกำกับภาษีในแต่ละประเภท
วิธีทำบัญชีขายของออนไลน์อย่างถูกต้อง ป้องกันการเรียกตรวจสอบภาษีจากกรมสรรพากร
การวางแผนทำบัญชีเพื่อเสียภาษีคริปโตเคอร์เรนซี่หรือโทเคนดิจิทัล ปี 2567
ตรวจสอบบัญชีประจำปีแล้วดีอย่างไร ?
การซื้อทรัพย์สินและรายจ่ายเกี่ยวกับการซื้อหรือขายทรัพย์สินในส่วนที่เกินปกติโดยไม่มีเหตุอันสมควร
เงินที่บริษัทส่งไปสมทบให้บริษัทในต่างประเทศซึ่งร่วมลงทุนถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้หรือไม่
ผลขาดทุน จากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้หรือไม่
บริษัทตัวแทนในต่างประเทศได้ทดลอง จ่ายค่าจ้าง และภาษีไปก่อน ค่าใช้จ่ายดังกล่าวถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้หรือไม่
รายจ่ายก่อนตั้งบริษัท ถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่
ภาษีเงินได้ที่ออกให้พนักงานในต่างประเทศ ถือเป้นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้หรือไม่
ภาษีซื้อที่เกิดจากการเช่าสำนักงาน ถือเป็นภาษีซื้อของบริษัทได้หรือไม่
การทำบัญชีในยุค AI: บทความแนะนำสำหรับเจ้าของธุรกิจออนไลน์
การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้
เงินอุดหนุนที่องค์กรต่างๆให้มาเพื่อช่วยเหลืองานของสมาคม ได้รับยกเว้นภาษีหรือไม่
เงินกองทุนสะสมของพนักงาน ถือเป็นรายจ่าย ในการคำนวณกำไรสุทธิได้หรือไม่
การทำบัญชีและเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้ถูกต้อง
บริษัทให้รางวัลสมนาคุณแก่ลูกค้าที่ขายสินค้าของบริษัทได้สูง ถือเป็นรายจ่ายกำไรสุทธิ ได้หรือไม่
บริษัทเป็นผู้ส่งข้าวไปจำหน่ายต่างประเทศ มีความผูกพันต้องส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ถือเป็นรายจ่ายกำไรสุทธิได้หรือไม่
ค่าใช้จ่ายให้ตัวแทนย่อย ไปดูงานการผลิตและจำหน่ายในต่างประเทศถือเป็นรายจ่ายกำไรสุทธิได้หรือไม่
บริษัทจัดจับฉลากชิงโชคเป็นของรางวัล ถือเป็นรายจ่ายกำไรสุทธิได้หรือไม่
บริษัทจะนำรายจ่ายค่าไฟฟ้าเป็นชื่อของผู้รับเหมา มาเป็นรายจ่ายได้หรือไม่
ค่าภาษีหัก ณ ที่จ่าย ที่บริษัทจ่ายแทนลูกจ้างของบริษัท ถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่
ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น เมื่อบริษัทนำทรัพย์สินของบุคคลอื่นมาใช้ในกิจการ ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณสิทธิ ได้หรือไม่
วางแผนภาษีแพทย์และโรงพยาบาลเอกชน
การทำบัญชีนิติบุคคลอาคารชุดให้ถูกต้องอย่างมืออาชีพ
การทำบัญชีนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรให้ถูกต้องอย่างมืออาชีพ
การทำบัญชีธุรกิจนำเข้า-ส่งออกให้ถูกต้อง
การทำบัญชีธุรกิจบริการให้ถูกต้องอย่างมืออาชีพ
การทำบัญชีธุรกิจขายสินค้าออนไลน์ให้ถูกต้องอย่างมืออาชีพ
การทำบัญชีสมาคมให้ถูกต้องอย่างมืออาชีพ
การทำบัญชีโรงเรียนเอกชนสำหรับผู้ประกอบการอย่างมืออาชีพ
การทำบัญชีมูลนิธิให้ถูกต้องอย่างมืออาชีพ
รถยนต์ที่เช่าซื้อมาแม้ยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ จะหักค่าสึกหรอหรือค่าเสื่อมราคาได้หรือไม่
ดินที่ซื้อมาถมในที่บริษัทเช่าถือเป็นรายจ่ายในปีที่จ่ายได้หรือไม่
รายจ่ายค่าซ่อมถนนให้คงสภาพเดิมถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่
สรุป ภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับผู้ประกอบการ SMEs
เงินกินเปล่าที่ผู้เช่าจ่ายให้ผู้ให้เช่า ถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่
รถยนต์ที่เช่าซื้อมาแม้ยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ จะหักค่าสึกหรอหรือค่าเสื่อมราคาได้หรือไม่
ดอกเบี้ยซื้อและติดตั้งเครื่องจักรเป็นการลงทุนหรือค่าใช้จ่ายหารายได้
ดอกเบี้ยเงินเบิกเกินบัญชีที่บริษัทนำมาให้ชาวประมงกู้ยืมโดยไม่คิดดอกเบี้ย
ทรัพย์สินที่สร้างขึ้นใหม่แทนทรัพย์สินเดิมถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่
รายจ่ายตอบแทนคุณความดีพนักงาน “ สตาฟ รีไทเมนต์ เบเนฟิต “ถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่
ค่าติดตั้งเครื่องจักร ถือเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนหรือไม่
ค่าใช้จ่ายอะไรบ้างที่ไม่ใช่ค่าใช้จ่ายส่งเสริมการขายต้องห้ามตามมาตรา 65ตรี(3)แห่งประมวลรัษฎากร
ความหมาย “ รายจ่ายอันมีลักษณะการลงทุน "
กรณีการก่อสร้างอาคารแล้วยกกรรมสิทธิ์ให้เจ้าของที่ดิน
บริษัทจัดตั้งกองทุนสะสม และจ่ายเงิน เข้าบัญชีพนักงาน และพนักงานเบิกใช้ ถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่บริษัทจัดตั้ง บริษัทจ่ายสมทบให้ บริษัทจะเบิกจ่ายมาใช้ส่วนตัวได้หรือไม่
ค่านายหน้าค้างจ่าย ที่ค้างมานานหลายรอบระยะเวลาบัญชีจะมีปัญหาหรือไม่
ความสำคัญการตรวจสอบบัญชีสำหรับธุรกิจ SME
เมื่อผู้ขายไม่ออกใบเสร็จรับเงินในการซื้อสินค้า จะใช้อะไรเป็นหลักฐานในการลงบัญชีรายจ่าย
ใบเสร็จรับเงินมีรายการไม่ครบถ้วนใช้เป็นค่าใช้จ่ายตามประมวลรัษฎากรได้หรือไม่
บริษัทจ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้พนักงาน ถือเป็นรายจ่ายคำนวณกำไรสุทธิได้หรือไม่
ใบเสร็จรับเงินมีรายการไม่ครบถ้วนใช้เป็นค่าใช้จ่ายตามประมวลรัษฎากรได้หรือไม่
ใบส่งของที่ไม่มีลายมือชื่อผู้รับเงินจะนำมาหักเป็นรายจ่ายไม่ได้
ดอกเบี้ยจ่ายให้ผู้ว่าจ้าง ถือเป็นรายจ่ายเพื่อประกอบกิจการได้
ดอกเบี้ยจ่ายที่เกิดจากการซื้อสินค้าถือเป็นค่าใช้จ่ายตามประมวลรัษฎากรได้หรือไม่
ค่ารับรองพิเศษถือเป็นค่าใช้จ่ายตามประมวลรัษฎากรได้หรือไม่
การนำผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 รอบระยะเวลาบัญชี
การจ่ายส่วนลดจ่ายในการส่งเสริมการขาย
การจ่ายเงินรางวัลพนักงาน
เมื่อกิจการมีค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานนอกสถานที่ จะมีแนวปฏิบัติอย่างไรให้สรรพากรยอมรับ
เมื่อผู้รับจ้างมีรายรายได้และรายได้ถึงเกณฑ์นำส่งภาษีประจำปีแต่ไม่ยื่นแบบนำส่งภาษีจะเกิดอะไรขึ้น
จ้างพนักงานบัญชีประจำบริษัทหรือจ้างสำนักงานบัญชี แบบไหนดีกว่ากัน?
ทำบัญชีและเสียภาษีอย่างไรให้ถูกต้องเมื่อคิดจะเปิดร้านขายของออนไลน์
กรณีนิติบุคคลจ่ายเงินค่าจ้างให้ผู้รับจ้าง จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายอย่างไร
ขั้นตอนที่จะทำให้พ่อค้าแม่ขายออนไลน์ทำบัญชีได้อย่างถูกต้องหายห่วง
5 เคล็ดลับการทำบัญชีวัด ให้ถูกต้อง โปร่งใส และตรวจสอบได้
3 ประเด็นที่ทำให้ธุรกิจ SMEs วางแผนการเงินพลาด
เทคนิควิเคราะห์งบการเงิน 4 ด้านสำหรับธุรกิจSME
การสอบทานการทำบัญชีนั้นสำคัญ! การทำบัญชีให้ถูกต้องและมีคุณภาพสำหรับกิจการ SMEs
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย กรณีผู้จ่ายเงินออกภาษีแทนให้ให้ผู้รับเงิน
การวางแผนภาษีแพทย์ (คุณหมอ)
ดอกเบี้ยหรือเงินปันผลจากต่างประเทศจะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือไม่
กิจการที่จ่ายค่าใช้จ่ายการต่อเติมอาคารแทนการจ่าค่าเช่าจะปฎิบัติอย่างไรให้สรรพากรยอมรับ
หลักเกณฑ์การตัดสินค้าชำรุดเสียหายต้องทำอย่างไรเพื่อให้สรรพากรยอมรับ
สินค้าคงเหลือขาดหายจากบัญชีคุมสินค้าจะปฏิบัติอย่างไรให้สรรพากรยอมรับ
เงินกองทุนสะสมของพนักงานที่โอนมาจากบริษัทเดิมไม่เป็นเงินได้จากการประกอบกิจการ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม Value Added Tax หรือ VAT คืออะไร ใครมีหน้าที่เสียใครได้รับยกเว้น
ผลกระทบของการไม่ยื่นแบบเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี สำหรับผู้รับจ้างทำงานให้และการจ่ายเงินค่าบริการ
ทำบัญชีอย่างไรให้ถูกต้องตามประมวลรัษฎากร
การทำบัญชียุค กรมสรรพากรขับเคลื่อนกลยุทธ์ D2RIVE Digital Transformation Data Analytics Revenue Collection Value และ Efficiency
การทำบัญชีเมื่อกรมสรรพากร เชื่อมโยงข้อมูลกับสำนักงานประกันสังคม
บริการรับทำ และดูแลการทำบัญชีในยุคดิจิตอล
การทำบัญชีธุรกิจซื้อ-ขายสินค้า/บริการออนไลน์ให้ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ระบบดิจิทัล
การวางแผนการเงินและบัญชี สำหรับธุรกิจ SMEs สู้วิกฤติ COVID-19
เทคนิค การวางแผนภาษี และการทำบัญชี สำหรับธุรกิจ เทคโนโลยีดิจิทัล
เทคนิคการทำบัญชีให้ถูกกต้อง สู่เศรษฐกิจดิจิตอล
การทำบัญชี ยุค Work from Home
บริการรับทำ และดูแลการทำบัญชีในยุคดิจิตอล
การจัดจัดทำบัญชีสมาคม/มูลนิธิ
การทำบัญชีโรงเรียนเอกชนให้ถูกต้อง
การวางระบบบัญชีโรงเรียนเอกชน
การทำบัญชีนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร/อาคารชุด
การจ่ายโบนัสหรือค่าตอบแทน
การจ่ายเงินรางวัลให้แก่พนักงาน
Big Data และ Data Analytic ของกรมสรรพากร
ทำไม ธุรกิจ SMEs ถึงต้องทำบัญชีเล่มเดียว ให้ถูกต้อง