
กรณีนิติบุคคลจ่ายเงินค่าจ้างให้ผู้รับจ้าง จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายอย่างไร
ในกรณีผู้ว่าจ้างเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น จ่ายเงินค้าจ้างให้ผุ้รับจ้าง ผุ้ว่าจ้างจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ในแต่ละกรณีดังนี้
1. กรณีการจ่ายเงินค่าจ้างทำของ ( มาตรา 40(7) (8)ให้แก่ ผู้รับจ้าง ที่ผู้ว่าจ้างจะต้องคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และนำส่งในอัตราร้อยละ 3 ของยอดเงินค่าจ้างที่จ่าย ประกอบด้วยหลักเกณฑ์ 1.1 ผู้ว่าจ้างต้องเป็นบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น 1.2 ผู้รับจ้างต้องเป็น - ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเช่น บุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลหรือกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง - บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคม - บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ ประกอบกิจการในประเทศไทย โดยมีสำนักงานสาขาตั้งอยู่ เป็นการถาวรในประเทศไทย 2. กรณีการจ่ายเงินค่าจ้างทำของให้แก่ผู้รับจ้าง ที่ผู้ว่าจ้างจะต้องคำนวณภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย แนะนำส่งในอัตราร้อยละ 5 ของรายการที่จ่าย ประกอบด้วยหลักเกณฑ์ 2.1 ผู้รับจ้าง ต้องเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ ประกอบกิจการในประเทศไทย 2.2 การประกอบกิจการในประเทศไทยของผู้รับจ้างตาม2.1 จะต้องไม่ใช่กรณีที่ผู้รับจ้างมีสำนักงานสาขาตั้งอยู่ เป็นการถาวรในประเทศไทย 3. กรณีผู้รับจ้าง ทำของแยกบิลเรียกเก็บเงิน 3.1 บิลเดี่ยวแยกรายการ 2 บรรทัดเช่น ค่าวัสดุ 2,000 ค่าแรง 1,000 รวมเป็น 3,000 ซึ่งผู้จ่ายเงิน จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายจากยอดรวม 3,000 3.2 แยกบิลค่าสินค้ากับค่าแรง เป็น 2 ใบ คือค่าวัสดุ 1 ใบ อีก 1 ใบ ภาพการจ่ายเงินเป็นค่าจ้างทำของผู้จ่ายเงินได้ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายจากบิล ทั้ง 2 ใบ 3.3 รวมบิล ค่าสินค้ากับค่าแรง โดยผู้รับจ้างออกบิล 1 ใบไม่ได้แยกค่าสินค้ากับค่าแรง การจ่ายเงินเป็นค่าจ้างทำของ ผู้จ่ายเงินจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายจากยอดรวม 4. กรณีผู้รับจ้าง แยกบิลเป็น 2 นิติบุคคล เป็นค่าของ 1 บิล และค่าแรงอีก 1 บิล เมื่อมีการจ่ายเงิน จะหักภาษี ณ ที่ จ่ายเฉพาะผู้รับจ้างที่รับจ้างค่าแรง อ้างอิง หนังสือกรมสรรพากรที่ กค 0706/307 ลง. 29 มีนาคม 2547
ขอขอบคุณบทความจาก www.goldboxacct.com
|