ReadyPlanet.com
ข่าวสาร
หนังสือรับรองสำนักงานบัญชีคุณภาพ
dot

dot
dot
dot


การสอบทานการทำบัญชีนั้นสำคัญ! การทำบัญชีให้ถูกต้องและมีคุณภาพสำหรับกิจการ SMEs

 

การสอบทานการทำบัญชีนั้นสำคัญ! การทำบัญชีให้ถูกต้องและมีคุณภาพสำหรับกิจการ SMEs

   เมื่อธุรกิจเริ่มเปิดดำเนินการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง SMEs  สิ่งที่สำคัญที่สุดถือว่าเป็นหัวใจสำคัญสำหรับการทำธุรกิจ คือการจัดทำบัญชีเพื่อนำส่งงบการเงินต่อส่วนราชการได้แก่ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และกรมสรรพากร

 

   การทำบัญชีในแต่ละปี จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะการส่งงบการเงินดังกล่าวเป็นความรับผิดชอบของผู้บริหารของกิจการไม่ว่าจะเป็นความถูกต้องของงบการเงินตามมาตรฐานบัญชี และความถูกต้องครบถ้วนของการนำส่งภาษีประจำปี ทั้งนี้เพื่อป้องกันการถูกเรียก ตรวจสอบ ไต่สวน ประเมิน สั่งให้เสียภาษีอากร และบางครั้งการกระทำดังกล่าวอาจมีความผิดทางอาญาตามประมวลรัษฎากร

 

    ผู้ทำบัญชีเมื่อได้ทำการบันทึกบัญชีตามเอกสาร และเก็บรายละเอียดประกอบงบการเงินครบถ้วนแล้ว ผู้ทำบัญชีจะต้องสอบทานความถูกต้องของการทำบัญชี รวมถึงการปรับปรุงเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง และจะต้องนำข้อมูลไปจัดทำงบการเงิน นำส่งผู้บริหารพร้อมทั้งชี้แจงรายละเอียดในงบการเงินต่อผู้บริหาร  ผู้บริหารของกิจการจะต้องทำความเข้าใจและซักถามข้อมูลรายละเอียดในงบการเงินจนเข้าใจ  และนำข้อมูลไปบริหารจัดการต่อไป

 

      ดังนั้นผู้ทำบัญชี และผู้บริหารจะต้องกระบวนการสอบทานความถูกต้องของการจัดทำบัญชี และการนำข้อมูลมาจัดทำงบการเงินอย่างมีประสิทธิภาพดังนี้

 

  1. การรับรู้รายได้ และค่าใช้จ่าย ในแต่ละประเภทธุรกิจย่อมจะมีการรับรู้รายได้ และค่าใช้จ่าย ให้สอดคล้องกับประเภทธุรกิจเป็นการใช้เกณฑ์สิทธิ์ตามมาตร 65 แห่งประมวลรัษฎากร ( เกณฑ์การรับรู้รายได้และรายจ่ายเกิดขึ้นหรือเป็นของรอบบัญชีใด ก็ให้ถือเป็นรายได้และรายจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีนั้น)
  2. รายจ่ายต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร เมื่อบันทึกบัญชีเสร็จสิ้น ก่อนการส่งงบการเงินให้ผู้สอบบัญชีตรวจสอบ ผู้ทำบัญชีจะต้องทำการคำนวณกำไรสุทธิ เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปีของกิจการ  ดังนั้นรายจ่ายที่จะนำไปหักออกจากรายได้จะต้องเป็นรายจ่ายที่สรรพากรยอมรับ คือไม่เป็นรายจ่ายต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร ในทางปฏิบัติ เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดเมื่อพบค่าใช้จ่ายประเภทนี้ จะต้องนำไปบวกกลับ ในการคำนวณกำไรสุทธิประจำปี
  3. การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาทรัพย์สิน   เมื่อมีการซื้อทรัพย์สินมาจะต้องมีการบันทึกต้นทุนของทรัพย์สิน และในแต่ละปีจะต้องคำนวณค่าเสื่อมราคาเป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาฉบับที่ 145 มาตรา 4
  4. การปรับปรุงกำไรสุทธิทางบัญชีให้เป็นกำไรทางภาษีอากร(บวกกลับ)  ซึ่งจะต้องเป็นไปตามมาตรา 65 ทวิ และ65 ตรี
  5. ภาษีมูลค่าเพิ่ม มีการสอบทานความครบถ้วน ถูกต้องของการนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มประจำเดือน โดยเฉพาะ ธุรกิจบริการจะต้องมีการกระทบรายได้ เพื่อให้เกิดความมั่นใจนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มถูกต้องและครบถ้วน
  6. การหักภาษี ณ ที่จ่าย มีการสอบทานความครบถ้วนถูกต้อง  ตามมาตรา 3 เตรส หรือคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528
  7. รายจ่ายสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร  ซึ่งเป็นรายจ่ายที่ตามประมวลรัษฎากรได้ให้สิทธิประโยชน์รายจ่ายบางประเด็นให้กิจการถือเป็นรายจ่ายเพิ่มขึ้นจากที่ได้จ่ายไปจริง
  8. อากรแสตมป์  ในสัญญาต่างๆทางธุรกิจ จะต้องดำเนินการให้ถูกต้อง และครบถ้วน ไม่ว่าในส่วนของการชำระเป็นตัวเงินหรือการปิดอากรแสตมป์
  9. การวิเคราะห์งบการเงินในมิติต่างๆ โดยเทียบกับปีก่อน เพื่อหาสิ่งที่ผิดปกติ  และสอบทานข้อมูลอีกครั้งเพื่อป้องกันความผิดพลาดจากการบันทึกบัญชี
  10. ภาษีธุรกิจเฉพาะ เช่น จะต้องสอบทานการนำส่งภาษีธุรกิจเฉพาะจากดอกเบี้ยรับจากบัญชีลูกหนี้เงินยืมกรรมการ เป็นต้น


   กล่าวโดยสรุป ในการทำบัญชี  ผู้ทำบัญชี จะต้องสอบทานความถูกต้องของการบันทึกบัญชี และการสรุปจัดทำการคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปี นำเสนอผู้บริหารและชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกัน และ ส่งงบการเงินและรายละเอียดประกอบงบการเงินให้ผู้สอบบัญชีตรวจสอบความถูกต้อง ซึ่งจะทำให้ลดความเสี่ยงจากการผิดพลาด และความครบถ้วนของการนำส่งภาษีประจำปี ทั้งนี้เพื่อป้องการการเรียกตรวจสอบบัญชีจากกรมสรรพากร เพราะในปัจจุบันกรมสรรพากรได้จัดทำนโยบาย BIG CHANGE

 

   ปัจจุบันกรมสรรพากร  เน้นพัฒนาระบบ IT เพื่อต่อยอดบริการใหม่ๆและรณรงค์ให้ผู้เสียภาษียื่นแบบทางอินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีหัก ณ ที่จ่าย ซึ่งในอนาคตกรมสรรพากรจะมีข้อมูลการนำส่งภาษีไว้พร้อมเพื่อนำมาวิเคราะห์ความถูกต้องและครบถ้วนของการนำส่งภาษีธุรกิจต่างๆ ซึ่งหากกิจการไม่มีระบบการสอบทานก็อาจถูกกรมสรรพากรออกหมายเรียกตรวจสอบแนะนำได้

 

 ขอขอบคุณบทความจาก www.goldboxacct.com

 

สำนักงานบัญชี รับทำบัญชี โปรแกรมบัญชี รับจดทะเบียนบริษัท อบรมบัญชี รับตรวจสอบบัญชี

 




บทความวิชาการบัญชี

ใบกำกับภาษีคืออะไร มีรูปแบบไหนบ้าง? ทำความรู้จักกับใบกำกับภาษีในแต่ละประเภท
วิธีทำบัญชีขายของออนไลน์อย่างถูกต้อง ป้องกันการเรียกตรวจสอบภาษีจากกรมสรรพากร
การวางแผนทำบัญชีเพื่อเสียภาษีคริปโตเคอร์เรนซี่หรือโทเคนดิจิทัล ปี 2567
ตรวจสอบบัญชีประจำปีแล้วดีอย่างไร ?
การซื้อทรัพย์สินและรายจ่ายเกี่ยวกับการซื้อหรือขายทรัพย์สินในส่วนที่เกินปกติโดยไม่มีเหตุอันสมควร
เงินที่บริษัทส่งไปสมทบให้บริษัทในต่างประเทศซึ่งร่วมลงทุนถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้หรือไม่
ผลขาดทุน จากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้หรือไม่
บริษัทตัวแทนในต่างประเทศได้ทดลอง จ่ายค่าจ้าง และภาษีไปก่อน ค่าใช้จ่ายดังกล่าวถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้หรือไม่
รายจ่ายก่อนตั้งบริษัท ถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่
ภาษีเงินได้ที่ออกให้พนักงานในต่างประเทศ ถือเป้นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้หรือไม่
ภาษีซื้อที่เกิดจากการเช่าสำนักงาน ถือเป็นภาษีซื้อของบริษัทได้หรือไม่
การทำบัญชีในยุค AI: บทความแนะนำสำหรับเจ้าของธุรกิจออนไลน์
การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้
เงินอุดหนุนที่องค์กรต่างๆให้มาเพื่อช่วยเหลืองานของสมาคม ได้รับยกเว้นภาษีหรือไม่
เงินกองทุนสะสมของพนักงาน ถือเป็นรายจ่าย ในการคำนวณกำไรสุทธิได้หรือไม่
การทำบัญชีและเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้ถูกต้อง
บริษัทให้รางวัลสมนาคุณแก่ลูกค้าที่ขายสินค้าของบริษัทได้สูง ถือเป็นรายจ่ายกำไรสุทธิ ได้หรือไม่
บริษัทเป็นผู้ส่งข้าวไปจำหน่ายต่างประเทศ มีความผูกพันต้องส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ถือเป็นรายจ่ายกำไรสุทธิได้หรือไม่
ค่าใช้จ่ายให้ตัวแทนย่อย ไปดูงานการผลิตและจำหน่ายในต่างประเทศถือเป็นรายจ่ายกำไรสุทธิได้หรือไม่
บริษัทจัดจับฉลากชิงโชคเป็นของรางวัล ถือเป็นรายจ่ายกำไรสุทธิได้หรือไม่
บริษัทจะนำรายจ่ายค่าไฟฟ้าเป็นชื่อของผู้รับเหมา มาเป็นรายจ่ายได้หรือไม่
ค่าภาษีหัก ณ ที่จ่าย ที่บริษัทจ่ายแทนลูกจ้างของบริษัท ถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่
ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น เมื่อบริษัทนำทรัพย์สินของบุคคลอื่นมาใช้ในกิจการ ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณสิทธิ ได้หรือไม่
วางแผนภาษีแพทย์และโรงพยาบาลเอกชน
การทำบัญชีนิติบุคคลอาคารชุดให้ถูกต้องอย่างมืออาชีพ
การทำบัญชีนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรให้ถูกต้องอย่างมืออาชีพ
การทำบัญชีธุรกิจนำเข้า-ส่งออกให้ถูกต้อง
การทำบัญชีธุรกิจบริการให้ถูกต้องอย่างมืออาชีพ
การทำบัญชีธุรกิจขายสินค้าออนไลน์ให้ถูกต้องอย่างมืออาชีพ
การทำบัญชีสมาคมให้ถูกต้องอย่างมืออาชีพ
การทำบัญชีโรงเรียนเอกชนสำหรับผู้ประกอบการอย่างมืออาชีพ
การทำบัญชีมูลนิธิให้ถูกต้องอย่างมืออาชีพ
รถยนต์ที่เช่าซื้อมาแม้ยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ จะหักค่าสึกหรอหรือค่าเสื่อมราคาได้หรือไม่
ดินที่ซื้อมาถมในที่บริษัทเช่าถือเป็นรายจ่ายในปีที่จ่ายได้หรือไม่
รายจ่ายค่าซ่อมถนนให้คงสภาพเดิมถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่
สรุป ภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับผู้ประกอบการ SMEs
เงินกินเปล่าที่ผู้เช่าจ่ายให้ผู้ให้เช่า ถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่
การทำบัญชีสำหรับผู้ประกอบการอย่างมืออาชีพ
รถยนต์ที่เช่าซื้อมาแม้ยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ จะหักค่าสึกหรอหรือค่าเสื่อมราคาได้หรือไม่
ดอกเบี้ยซื้อและติดตั้งเครื่องจักรเป็นการลงทุนหรือค่าใช้จ่ายหารายได้
ดอกเบี้ยเงินเบิกเกินบัญชีที่บริษัทนำมาให้ชาวประมงกู้ยืมโดยไม่คิดดอกเบี้ย
ทรัพย์สินที่สร้างขึ้นใหม่แทนทรัพย์สินเดิมถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่
รายจ่ายตอบแทนคุณความดีพนักงาน “ สตาฟ รีไทเมนต์ เบเนฟิต “ถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่
ค่าติดตั้งเครื่องจักร ถือเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนหรือไม่
ค่าใช้จ่ายอะไรบ้างที่ไม่ใช่ค่าใช้จ่ายส่งเสริมการขายต้องห้ามตามมาตรา 65ตรี(3)แห่งประมวลรัษฎากร
ความหมาย “ รายจ่ายอันมีลักษณะการลงทุน "
กรณีการก่อสร้างอาคารแล้วยกกรรมสิทธิ์ให้เจ้าของที่ดิน
บริษัทจัดตั้งกองทุนสะสม และจ่ายเงิน เข้าบัญชีพนักงาน และพนักงานเบิกใช้ ถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่บริษัทจัดตั้ง บริษัทจ่ายสมทบให้ บริษัทจะเบิกจ่ายมาใช้ส่วนตัวได้หรือไม่
ค่านายหน้าค้างจ่าย ที่ค้างมานานหลายรอบระยะเวลาบัญชีจะมีปัญหาหรือไม่
ความสำคัญการตรวจสอบบัญชีสำหรับธุรกิจ SME
เมื่อผู้ขายไม่ออกใบเสร็จรับเงินในการซื้อสินค้า จะใช้อะไรเป็นหลักฐานในการลงบัญชีรายจ่าย
ใบเสร็จรับเงินมีรายการไม่ครบถ้วนใช้เป็นค่าใช้จ่ายตามประมวลรัษฎากรได้หรือไม่
บริษัทจ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้พนักงาน ถือเป็นรายจ่ายคำนวณกำไรสุทธิได้หรือไม่
ใบเสร็จรับเงินมีรายการไม่ครบถ้วนใช้เป็นค่าใช้จ่ายตามประมวลรัษฎากรได้หรือไม่
ใบส่งของที่ไม่มีลายมือชื่อผู้รับเงินจะนำมาหักเป็นรายจ่ายไม่ได้
ดอกเบี้ยจ่ายให้ผู้ว่าจ้าง ถือเป็นรายจ่ายเพื่อประกอบกิจการได้
ดอกเบี้ยจ่ายที่เกิดจากการซื้อสินค้าถือเป็นค่าใช้จ่ายตามประมวลรัษฎากรได้หรือไม่
ค่ารับรองพิเศษถือเป็นค่าใช้จ่ายตามประมวลรัษฎากรได้หรือไม่
การนำผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 รอบระยะเวลาบัญชี
การจ่ายส่วนลดจ่ายในการส่งเสริมการขาย
การจ่ายเงินรางวัลพนักงาน
เมื่อกิจการมีค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานนอกสถานที่ จะมีแนวปฏิบัติอย่างไรให้สรรพากรยอมรับ
เมื่อผู้รับจ้างมีรายรายได้และรายได้ถึงเกณฑ์นำส่งภาษีประจำปีแต่ไม่ยื่นแบบนำส่งภาษีจะเกิดอะไรขึ้น
จ้างพนักงานบัญชีประจำบริษัทหรือจ้างสำนักงานบัญชี แบบไหนดีกว่ากัน?
ทำบัญชีและเสียภาษีอย่างไรให้ถูกต้องเมื่อคิดจะเปิดร้านขายของออนไลน์
กรณีนิติบุคคลจ่ายเงินค่าจ้างให้ผู้รับจ้าง จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายอย่างไร
ขั้นตอนที่จะทำให้พ่อค้าแม่ขายออนไลน์ทำบัญชีได้อย่างถูกต้องหายห่วง
5 เคล็ดลับการทำบัญชีวัด ให้ถูกต้อง โปร่งใส และตรวจสอบได้
3 ประเด็นที่ทำให้ธุรกิจ SMEs วางแผนการเงินพลาด
เทคนิควิเคราะห์งบการเงิน 4 ด้านสำหรับธุรกิจSME
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย กรณีผู้จ่ายเงินออกภาษีแทนให้ให้ผู้รับเงิน
การวางแผนภาษีแพทย์ (คุณหมอ)
ดอกเบี้ยหรือเงินปันผลจากต่างประเทศจะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือไม่
กิจการที่จ่ายค่าใช้จ่ายการต่อเติมอาคารแทนการจ่าค่าเช่าจะปฎิบัติอย่างไรให้สรรพากรยอมรับ
หลักเกณฑ์การตัดสินค้าชำรุดเสียหายต้องทำอย่างไรเพื่อให้สรรพากรยอมรับ
สินค้าคงเหลือขาดหายจากบัญชีคุมสินค้าจะปฏิบัติอย่างไรให้สรรพากรยอมรับ
เงินกองทุนสะสมของพนักงานที่โอนมาจากบริษัทเดิมไม่เป็นเงินได้จากการประกอบกิจการ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม Value Added Tax หรือ VAT คืออะไร ใครมีหน้าที่เสียใครได้รับยกเว้น
ผลกระทบของการไม่ยื่นแบบเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี สำหรับผู้รับจ้างทำงานให้และการจ่ายเงินค่าบริการ
ทำบัญชีอย่างไรให้ถูกต้องตามประมวลรัษฎากร
การทำบัญชียุค กรมสรรพากรขับเคลื่อนกลยุทธ์ D2RIVE Digital Transformation Data Analytics Revenue Collection Value และ Efficiency
การทำบัญชีเมื่อกรมสรรพากร เชื่อมโยงข้อมูลกับสำนักงานประกันสังคม
บริการรับทำ และดูแลการทำบัญชีในยุคดิจิตอล
การทำบัญชีธุรกิจซื้อ-ขายสินค้า/บริการออนไลน์ให้ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ระบบดิจิทัล
การวางแผนการเงินและบัญชี สำหรับธุรกิจ SMEs สู้วิกฤติ COVID-19
เทคนิค การวางแผนภาษี และการทำบัญชี สำหรับธุรกิจ เทคโนโลยีดิจิทัล
เทคนิคการทำบัญชีให้ถูกกต้อง สู่เศรษฐกิจดิจิตอล
การทำบัญชี ยุค Work from Home
บริการรับทำ และดูแลการทำบัญชีในยุคดิจิตอล
การจัดจัดทำบัญชีสมาคม/มูลนิธิ
การทำบัญชีโรงเรียนเอกชนให้ถูกต้อง
การวางระบบบัญชีโรงเรียนเอกชน
การทำบัญชีนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร/อาคารชุด
การจ่ายโบนัสหรือค่าตอบแทน
การจ่ายเงินรางวัลให้แก่พนักงาน
Big Data และ Data Analytic ของกรมสรรพากร
ทำไม ธุรกิจ SMEs ถึงต้องทำบัญชีเล่มเดียว ให้ถูกต้อง