ReadyPlanet.com
ข่าวสาร
หนังสือรับรองสำนักงานบัญชีคุณภาพ
dot

dot
dot
dot


การทำบัญชีนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร/อาคารชุด

 การทำบัญชีนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร/อาคารชุด คำอธิบาย: article

1. การทำบัญชีการทำบัญชีนิติบุคคล หมู่บ้านจัดสรร/อาคารชุด ให้ถูกต้อง

การทำบัญชีนิติบุคคล หมู่บ้านจัดสรร/อาคารชุด ให้ถูกต้อง หมายถึง การทำบัญชีให้ถูกต้องตาม พรบ.การจัดสรรที่ดิน , ตาม พรบ.การบัญชี และตามประมวลรัษฎากร

ถูกต้องตาม พรบ.การจัดสรรที่ดิน หมายถึง

 ทำตาม พรบ.การจัดสรรที่ดิน อย่างเคร่งครัด ( กฎกระทรวงว่าด้วยการขอจดทะเบียนจัดตั้ง การบริหาร การควบคุม และการยกเลิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร )

 อำนาจในการจัดเก็บค่าส่วนกลาง( ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา และค่าสาธารณูปโภค )

 มาตรการในการกำหนดค่าปรับกรณีผู้จ่าย ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา และค่าสาธารณูปโภค ล่าช้า

 การแจ้งระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม กรณีสมาชิกค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา และค่าสาธารณูปโภค

 การจัดให้มีการตรวจสอบบัญชี โดยให้คณะ กรรมการบริหารดำเนินการให้มีการตรวจสอบบัญชีของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร เพื่อตรวจสอบ และแสดงความเห็นต่องบการเงินของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ภายในหกสิบวันนับแต่วันสิ้น รอบปีบัญชี ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด

ถูกต้องตาม พรบ.การบัญชี หมายถึง

ผู้ทำบัญชี

 มีคุณสมบัติ และเงื่อนไข ที่อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้ากำหนด

ประกาศกรมทะเบียนการค้ากำหนดคุณสมบัติ และเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชีปี2543ใช้ตั้งแต่ 10 ส.ค.54 เช่น มีคุณสมบัติ และถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร,มีความรู้ภาษาไทย,ไม่เคยต้องโทษกฎหมายบัญชี หรือผู้สอบบัญชี เป็นต้น

 ควบคุมดูแลการทำบัญชีให้เป็นไป ตามมาตรฐานการบัญชี ตรงความเป็นจริง และถูกต้อง

 จัดให้มีการทำบัญชี ตามมาตรฐานการบัญชี

การทำบัญชี ต้องครบถ้วนถูกต้องตามที่อธิบดีประกาศกำหนดเกี่ยวกับ ดู ประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ ข้อความและรายการ ที่ต้องมีในบัญชี ระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชี และเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๔

ชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ

บัญชีรายวัน เช่น บัญชีรายวันซื้อ,รานวันขาย,รายวันทั่วไป

บัญชีเงินสด,บัญชีเงินฝากธนาคาร

บัญชีสินค้าคงคลัง

ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี

1.บัญชีเงินสด หรือบัญชีธนาคาร ให้มีรายละเอียดการได้มาหรือจ่ายไปซึ่งเงินสด เงินในธนาคาร เน้นที่มีในเอกสาร

2.บัญชีรายวันซื้อหรือบัญชีรายวันขาย ให้มีรายละเอียด ชนิด ประเภท จำนวน และราคาของสินค้าหรือบริการที่ซื้อขาย แต่ถ้ามีรายละเอียดดังกล่าวในเอกสารประกอบการลงบัญชี

3.บัญชีรายวันทั่วไป ให้มีคำอธิบายรายการบัญชี

4.บัญชีแยกประเภทสินทรัพย์ หนี้สินและทุน ให้มีรายละเอียดการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของสินทรัพย์ หนี้สินและทุน โดยให้อ้างชนิดของบัญชีและหน้าบัญชีหรือรหัสที่อ้างอิงด้วย

5.บัญชีแยกประเภทรายได้และค่าใช้จ่าย ให้มีรายละเอียดที่มาแห่งรายได้หรือค่าใช้จ่าย โดยให้อ้างชนิดของบัญชีและหน้าบัญชีหรือรหัสที่อ้างอิงด้วย

6.บัญชีแยกประเภทลูกหนี้หรือบัญชีแยกประเภทเจ้าหนี้ ให้มีชื่อลูกหนี้หรือเจ้าหนี้การแสดงรายการบัญชีให้มีรายละเอียดการก่อหนี้หรือระงับหนี้ การลงรายการดังกล่าวให้อ้างชนิดของบัญชีและ

7.หน้าบัญชีหรือรหัสที่อ้างอิงด้วย

(8) บัญชีสินค้า ให้มีชื่อ ชนิด จำนวน หน่วยนับ รายละเอียดการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสินค้า และจำนวนสินค้านั้น

เอกสารที่ต้องใช้ประกอบในการลงบัญชี

 จัดให้มีเอกสารประกอบการลงบัญชีได้แก่ บันทึก หรือเอกสารใดๆที่ใช้เป็นหลักฐานในการลงรายการในบัญชี

 ส่งมอบเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีให้ผู้ทำบัญชี เช่น ใบเสร็จรับเงิน ใบส่งของใบสำคัญรับ-จ่าย ฯลฯถูกต้องครบถ้วนเพื่อให้บัญชีที่จัดทำขึ้นให้สามารถแสดงผลการดำเนินงานฐานะการเงินหรือการเปลี่ยนแปลง ฐานะการเงินที่เป็นอยู่ตามความเป็นจริงและตาม มาตรฐานการบัญชี

ปิดบัญชีและจัดทำงบการเงิน

 ปิดบัญชีครั้งแรกภายใน 12 เดือน นับแต่วันที่ 1 พฤษภาคม ถึง 30 เมษายน

จัดทำงบการเงิน โดยมีรายการย่อ ตาม พรบ.โรงเรียนเอกชน

 จัดให้งบการเงินได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ภายใน 60 วันนับตั้งแต่วันสิ้นรอบบัญชี โดยคณะกรรมการบริหารจะต้องแต่งตั้งผู้สอบบัญชีขึ้นเพื่อการตรวจสอบบัญชี

การยื่นงบการเงิน

 ยื่นงบการเงินต่อ กรมที่ดินภายในจังหวัดภายใน 3 เดือนนับวันแตสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี

เก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี

 เก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี ไว้ ณ สถานที่ทำการ

 เก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปีนับแต่วันปิดบัญชีฃ

ถูกต้อง ตามประมวลรัษฎากร

หมายถึงการวางแผนภาษี ของนิติบุคคล หมู่บ้านจัดสรร/อาคารชุด เพื่อให้นิติบุคคลฯได้รับประโยชน์สูงสุด ภายใต้เงื่อนไขที่ถูกต้องตามกฎหมาย และเป็นการวางแผนอย่างรัดกุมเพื่อป้องกันภาระที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตของกิจการ ดังนั้นการวางแผนภาษี (Tax Planning) ไม่ใช่เป็นการหลบเลี่ยงภาษี (Tax Avoidance) หรือหนีภาษี (Tax Evasion) ก่อนที่จะมีการวางแผนภาษีนั้นจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในวัตถุประสงค์ของการวางแผนภาษีดังต่อไปนี้

1.ถูกต้องครบถ้วนตามกฎหมาย ในการวางแผนภาษีอากรผู้วางแผนจะต้องมีความรู้ความเข้าใจตัวบทกฎหมายของนิติบุคคลฯ อย่างชัดเจนถูกต้อง ไม่หลงลืมประเด็นหนึ่งประเด็นใดในตัวบทกฎหมายภาษีอากร นอกจากนี้จะต้องศึกษาคำพิพากษา และข้อหารือของกรมสรรพากรประกอบการวางแผนภาษีอากรให้รัดกุมครบถ้วน

2.ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีสูงสุด จะต้องศึกษาข้อกฎหมายที่จะทำให้นิติบุคคลฯ ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีสูงสุด โดยการกำหนดทางเลือกในการนำเงื่อนไขทางกฎหมายมาใช้ให้นิติบุคคลฯ ได้รับประโยชน์สูงสุดและถูกกฎหมายอีกด้วย เช่น รายได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล และเรื่องของการที่ไม่ต้องเข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่

 การจดทะเบียนสิทธิ และนิติกรรมโอนทรัพย์สินที่เป็นสาธารณูปโภค และบริการสาธารณะ

 รายได้ค่าจากการจัดเก็บค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา และการจัดการสาธารณูปโภคจากผู้ซื้อที่ดินจัดสรรซึ่งเป็นสมาชิกของนิติบุคคลฯนั้น

3.ปลอดภัยจากภาระที่อาจจะเกิดขึ้นในภายภาคหน้า การวางแผนภาษีอากรจะต้องคำนึงถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต หากมุมมองของผู้วางแผนขาดความรอบครอบในการศึกษาตัวบทกฎหมายได้อย่างถูกต้องแล้วอาจเกิดปัญหาได้ในอนาคตโดยถูกสรรพากรเรียกตรวจสอบและประเมินภาษี ทำให้นิติบุคคลฯ มีรายจ่ายเกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิด

4. มีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนและสมเหตุผล เมื่อมีการวางแผนภาษีอากรในเรื่องหนึ่งเรื่องใดจะต้องมีการยกกฎหมายมาอ้างอิงให้ชัดเจน สามารถตอบคำถามในปัญหาต่าง ๆ ในประมวลรัษฎากร คำพิพากษา ข้อหารือของกรมสรรพากร หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องสามารถหาคำตอบได้เป็นที่ยอมรับของฝ่ายจัดการหรือฝ่ายบริหารอย่างไม่มีข้อสงสัย และเชื่อถือได้ในข้อมูลที่นำมาอ้างอิงเพื่อการวางแผนภาษี

2. การทำบัญชีให้มีคุณภาพ

การทำบัญชีให้มีคุณภาพจะประกอบด้วย แนวปฏิบัติ ดังนี้

1.การจัดระบบการทำงานให้สอดคล้องกับโปรแกรมบัญชี

 พยายามปรับระบบการทำงานให้เข้ากับโปรแกรมบัญชีมาก ที่สุด เพื่อลดปัญหาการเขียนโปรแกรมเพิ่ม

 ทดลองนำข้อมูลเข้าในแต่ละระบบ และตรวจสอบ และปรับปรุง แก้ไข

 ใช้จริง ติดตามผล และปรับปรุงแก้ไข

2.กำหนดเป้าหมายตัวชี้วัด ที่เป็นไปได้ เป็นการกำหนด เพื่อให้เห็นผลเป็นรูปธรรม เช่น

 ปิดบัญชีตรงเวลา 90%

 จำนวนบัญชีที่ต้องแก้ไขหลังจากที่ปิดแล้ว ไม่เกิน 3% ของรายการบัญชีทั้งหมด

 จำนวนข้อบกพร่องที่ได้จากการตรวจสอบ 2จุดต่อเดือน

 จำนวนครั้งที่ปิดบัญชีช้า

3.มีการตรวจสอบติดตาม และปรับปรุงแก้ไขอย่างต่อเนื่อง ในส่วนนี้จะเป็นการตั้งคณะกรรมการคุณภาพ เพื่อตรวจสอบ ติดตาม และปรับปรุงแก้ไขอย่างต่อเนื่อง ภารกิจหลักของคณะกรรมการคุณภาพได้แก่

 กำหนดมาตรฐานคุณภาพในการทำงาน

 พิจารณาให้ความเห็นชอบในการทำงานคุณภาพ

 กำหนดระยะเวลาการตรวจสอบ

 จัดทำรายงาน และกำหนดแนวทางการแก้ไข 

บริษัท บัญชีสยามออนไลน์ จำกัด

(เดิมบริษัท สำนักงาน เอ.ที.เอส.การบัญชี จำกัด)

รับจดทะเบียนบริษัท รับทำบัญชี ด้วยโปรแกรมบัญชีออนไลน์ รับตรวจสอบบัญชี อบรมและฝึกงานบัญชี

สนใจ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

อาจารย์ปัญญา ศุกลินวนิช โทร 065-449-1925

 คุณฐิติรัชต์  รังสรรค์รุ่งกิจ  โทร 096-656-9162

Tel : 02-9640061, 02-9640062

Website : www.atsaccounting.co.th

E-mail : p.sukalinwanit@gmail.com

 




บทความวิชาการบัญชี

ใบกำกับภาษีคืออะไร มีรูปแบบไหนบ้าง? ทำความรู้จักกับใบกำกับภาษีในแต่ละประเภท
วิธีทำบัญชีขายของออนไลน์อย่างถูกต้อง ป้องกันการเรียกตรวจสอบภาษีจากกรมสรรพากร
การวางแผนทำบัญชีเพื่อเสียภาษีคริปโตเคอร์เรนซี่หรือโทเคนดิจิทัล ปี 2567
ตรวจสอบบัญชีประจำปีแล้วดีอย่างไร ?
การซื้อทรัพย์สินและรายจ่ายเกี่ยวกับการซื้อหรือขายทรัพย์สินในส่วนที่เกินปกติโดยไม่มีเหตุอันสมควร
เงินที่บริษัทส่งไปสมทบให้บริษัทในต่างประเทศซึ่งร่วมลงทุนถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้หรือไม่
ผลขาดทุน จากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้หรือไม่
บริษัทตัวแทนในต่างประเทศได้ทดลอง จ่ายค่าจ้าง และภาษีไปก่อน ค่าใช้จ่ายดังกล่าวถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้หรือไม่
รายจ่ายก่อนตั้งบริษัท ถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่
ภาษีเงินได้ที่ออกให้พนักงานในต่างประเทศ ถือเป้นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้หรือไม่
ภาษีซื้อที่เกิดจากการเช่าสำนักงาน ถือเป็นภาษีซื้อของบริษัทได้หรือไม่
การทำบัญชีในยุค AI: บทความแนะนำสำหรับเจ้าของธุรกิจออนไลน์
การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้
เงินอุดหนุนที่องค์กรต่างๆให้มาเพื่อช่วยเหลืองานของสมาคม ได้รับยกเว้นภาษีหรือไม่
เงินกองทุนสะสมของพนักงาน ถือเป็นรายจ่าย ในการคำนวณกำไรสุทธิได้หรือไม่
การทำบัญชีและเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้ถูกต้อง
บริษัทให้รางวัลสมนาคุณแก่ลูกค้าที่ขายสินค้าของบริษัทได้สูง ถือเป็นรายจ่ายกำไรสุทธิ ได้หรือไม่
บริษัทเป็นผู้ส่งข้าวไปจำหน่ายต่างประเทศ มีความผูกพันต้องส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ถือเป็นรายจ่ายกำไรสุทธิได้หรือไม่
ค่าใช้จ่ายให้ตัวแทนย่อย ไปดูงานการผลิตและจำหน่ายในต่างประเทศถือเป็นรายจ่ายกำไรสุทธิได้หรือไม่
บริษัทจัดจับฉลากชิงโชคเป็นของรางวัล ถือเป็นรายจ่ายกำไรสุทธิได้หรือไม่
บริษัทจะนำรายจ่ายค่าไฟฟ้าเป็นชื่อของผู้รับเหมา มาเป็นรายจ่ายได้หรือไม่
ค่าภาษีหัก ณ ที่จ่าย ที่บริษัทจ่ายแทนลูกจ้างของบริษัท ถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่
ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น เมื่อบริษัทนำทรัพย์สินของบุคคลอื่นมาใช้ในกิจการ ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณสิทธิ ได้หรือไม่
วางแผนภาษีแพทย์และโรงพยาบาลเอกชน
การทำบัญชีนิติบุคคลอาคารชุดให้ถูกต้องอย่างมืออาชีพ
การทำบัญชีนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรให้ถูกต้องอย่างมืออาชีพ
การทำบัญชีธุรกิจนำเข้า-ส่งออกให้ถูกต้อง
การทำบัญชีธุรกิจบริการให้ถูกต้องอย่างมืออาชีพ
การทำบัญชีธุรกิจขายสินค้าออนไลน์ให้ถูกต้องอย่างมืออาชีพ
การทำบัญชีสมาคมให้ถูกต้องอย่างมืออาชีพ
การทำบัญชีโรงเรียนเอกชนสำหรับผู้ประกอบการอย่างมืออาชีพ
การทำบัญชีมูลนิธิให้ถูกต้องอย่างมืออาชีพ
รถยนต์ที่เช่าซื้อมาแม้ยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ จะหักค่าสึกหรอหรือค่าเสื่อมราคาได้หรือไม่
ดินที่ซื้อมาถมในที่บริษัทเช่าถือเป็นรายจ่ายในปีที่จ่ายได้หรือไม่
รายจ่ายค่าซ่อมถนนให้คงสภาพเดิมถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่
สรุป ภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับผู้ประกอบการ SMEs
เงินกินเปล่าที่ผู้เช่าจ่ายให้ผู้ให้เช่า ถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่
การทำบัญชีสำหรับผู้ประกอบการอย่างมืออาชีพ
รถยนต์ที่เช่าซื้อมาแม้ยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ จะหักค่าสึกหรอหรือค่าเสื่อมราคาได้หรือไม่
ดอกเบี้ยซื้อและติดตั้งเครื่องจักรเป็นการลงทุนหรือค่าใช้จ่ายหารายได้
ดอกเบี้ยเงินเบิกเกินบัญชีที่บริษัทนำมาให้ชาวประมงกู้ยืมโดยไม่คิดดอกเบี้ย
ทรัพย์สินที่สร้างขึ้นใหม่แทนทรัพย์สินเดิมถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่
รายจ่ายตอบแทนคุณความดีพนักงาน “ สตาฟ รีไทเมนต์ เบเนฟิต “ถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่
ค่าติดตั้งเครื่องจักร ถือเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนหรือไม่
ค่าใช้จ่ายอะไรบ้างที่ไม่ใช่ค่าใช้จ่ายส่งเสริมการขายต้องห้ามตามมาตรา 65ตรี(3)แห่งประมวลรัษฎากร
ความหมาย “ รายจ่ายอันมีลักษณะการลงทุน "
กรณีการก่อสร้างอาคารแล้วยกกรรมสิทธิ์ให้เจ้าของที่ดิน
บริษัทจัดตั้งกองทุนสะสม และจ่ายเงิน เข้าบัญชีพนักงาน และพนักงานเบิกใช้ ถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่บริษัทจัดตั้ง บริษัทจ่ายสมทบให้ บริษัทจะเบิกจ่ายมาใช้ส่วนตัวได้หรือไม่
ค่านายหน้าค้างจ่าย ที่ค้างมานานหลายรอบระยะเวลาบัญชีจะมีปัญหาหรือไม่
ความสำคัญการตรวจสอบบัญชีสำหรับธุรกิจ SME
เมื่อผู้ขายไม่ออกใบเสร็จรับเงินในการซื้อสินค้า จะใช้อะไรเป็นหลักฐานในการลงบัญชีรายจ่าย
ใบเสร็จรับเงินมีรายการไม่ครบถ้วนใช้เป็นค่าใช้จ่ายตามประมวลรัษฎากรได้หรือไม่
บริษัทจ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้พนักงาน ถือเป็นรายจ่ายคำนวณกำไรสุทธิได้หรือไม่
ใบเสร็จรับเงินมีรายการไม่ครบถ้วนใช้เป็นค่าใช้จ่ายตามประมวลรัษฎากรได้หรือไม่
ใบส่งของที่ไม่มีลายมือชื่อผู้รับเงินจะนำมาหักเป็นรายจ่ายไม่ได้
ดอกเบี้ยจ่ายให้ผู้ว่าจ้าง ถือเป็นรายจ่ายเพื่อประกอบกิจการได้
ดอกเบี้ยจ่ายที่เกิดจากการซื้อสินค้าถือเป็นค่าใช้จ่ายตามประมวลรัษฎากรได้หรือไม่
ค่ารับรองพิเศษถือเป็นค่าใช้จ่ายตามประมวลรัษฎากรได้หรือไม่
การนำผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 รอบระยะเวลาบัญชี
การจ่ายส่วนลดจ่ายในการส่งเสริมการขาย
การจ่ายเงินรางวัลพนักงาน
เมื่อกิจการมีค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานนอกสถานที่ จะมีแนวปฏิบัติอย่างไรให้สรรพากรยอมรับ
เมื่อผู้รับจ้างมีรายรายได้และรายได้ถึงเกณฑ์นำส่งภาษีประจำปีแต่ไม่ยื่นแบบนำส่งภาษีจะเกิดอะไรขึ้น
จ้างพนักงานบัญชีประจำบริษัทหรือจ้างสำนักงานบัญชี แบบไหนดีกว่ากัน?
ทำบัญชีและเสียภาษีอย่างไรให้ถูกต้องเมื่อคิดจะเปิดร้านขายของออนไลน์
กรณีนิติบุคคลจ่ายเงินค่าจ้างให้ผู้รับจ้าง จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายอย่างไร
ขั้นตอนที่จะทำให้พ่อค้าแม่ขายออนไลน์ทำบัญชีได้อย่างถูกต้องหายห่วง
5 เคล็ดลับการทำบัญชีวัด ให้ถูกต้อง โปร่งใส และตรวจสอบได้
3 ประเด็นที่ทำให้ธุรกิจ SMEs วางแผนการเงินพลาด
เทคนิควิเคราะห์งบการเงิน 4 ด้านสำหรับธุรกิจSME
การสอบทานการทำบัญชีนั้นสำคัญ! การทำบัญชีให้ถูกต้องและมีคุณภาพสำหรับกิจการ SMEs
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย กรณีผู้จ่ายเงินออกภาษีแทนให้ให้ผู้รับเงิน
การวางแผนภาษีแพทย์ (คุณหมอ)
ดอกเบี้ยหรือเงินปันผลจากต่างประเทศจะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือไม่
กิจการที่จ่ายค่าใช้จ่ายการต่อเติมอาคารแทนการจ่าค่าเช่าจะปฎิบัติอย่างไรให้สรรพากรยอมรับ
หลักเกณฑ์การตัดสินค้าชำรุดเสียหายต้องทำอย่างไรเพื่อให้สรรพากรยอมรับ
สินค้าคงเหลือขาดหายจากบัญชีคุมสินค้าจะปฏิบัติอย่างไรให้สรรพากรยอมรับ
เงินกองทุนสะสมของพนักงานที่โอนมาจากบริษัทเดิมไม่เป็นเงินได้จากการประกอบกิจการ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม Value Added Tax หรือ VAT คืออะไร ใครมีหน้าที่เสียใครได้รับยกเว้น
ผลกระทบของการไม่ยื่นแบบเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี สำหรับผู้รับจ้างทำงานให้และการจ่ายเงินค่าบริการ
ทำบัญชีอย่างไรให้ถูกต้องตามประมวลรัษฎากร
การทำบัญชียุค กรมสรรพากรขับเคลื่อนกลยุทธ์ D2RIVE Digital Transformation Data Analytics Revenue Collection Value และ Efficiency
การทำบัญชีเมื่อกรมสรรพากร เชื่อมโยงข้อมูลกับสำนักงานประกันสังคม
บริการรับทำ และดูแลการทำบัญชีในยุคดิจิตอล
การทำบัญชีธุรกิจซื้อ-ขายสินค้า/บริการออนไลน์ให้ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ระบบดิจิทัล
การวางแผนการเงินและบัญชี สำหรับธุรกิจ SMEs สู้วิกฤติ COVID-19
เทคนิค การวางแผนภาษี และการทำบัญชี สำหรับธุรกิจ เทคโนโลยีดิจิทัล
เทคนิคการทำบัญชีให้ถูกกต้อง สู่เศรษฐกิจดิจิตอล
การทำบัญชี ยุค Work from Home
บริการรับทำ และดูแลการทำบัญชีในยุคดิจิตอล
การจัดจัดทำบัญชีสมาคม/มูลนิธิ
การทำบัญชีโรงเรียนเอกชนให้ถูกต้อง
การวางระบบบัญชีโรงเรียนเอกชน
การจ่ายโบนัสหรือค่าตอบแทน
การจ่ายเงินรางวัลให้แก่พนักงาน
Big Data และ Data Analytic ของกรมสรรพากร
ทำไม ธุรกิจ SMEs ถึงต้องทำบัญชีเล่มเดียว ให้ถูกต้อง